(ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=iaVTVGtyAZM)
วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
อาเซียน คือ อะไร
ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง
หลายคนอาจจะยังมีข้อกังขาเกี่ยวคำเรียกที่ว่า "ASEAN" หรือในภาษาไทยอ่านว่า
"อาเซียน" จริงๆ แล้วคำนี้มันมีความหมายว่าอะไร และมีความสำคัญอย่างไร
เหตุใดเราถึงควรรู้จักกับเจ้าคำนี้เอาไว้ วันนี้
เราจะมาคลายข้อสงสัยเพื่อทำให้ผู้อ่านได้รู้จักกับ "อาเซียน" มากขึ้น
อาเซียน เกิดจากการรวมตัวกันของ 10 ประเทศ อันได้แก่ มาเลเซีย, พม่า, กัมพูชา, ลาว, ไทย, สิงคโปร์, เวียดนาม, บรูไนดารุส-ซาลาม, ฟิลิปปินส์
และอินโดนีเซีย
ซึ่งรายนามประเทศเหล่านี้เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งสิ้น
โดยอาเซียน มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า "Association of Southeast Asian
Nations" หรือ
"สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถือกำเนิดขึ้นโดย
"ปฏิญญากรุงเทพ" (Bangkok
Declaration) หรือ "ปฏิญญาอาเซียน" (ASEAN
Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีสมาชิกเริ่มแรกเพียง
5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์ และไทย
มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเมือง
เศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกันเอง
ภายหลังจึงได้มีอีก 5 ประเทศสมาชิกเข้าร่วมเพิ่มเติม จึงทำให้ "อาเซียน"
มีสมาชิกเป็น 10 ประเทศดังเช่นในปัจจุบัน
ในการจัดตั้งอาเซียน ภายในปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ได้ระบุวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งเอาไว้ถึง
7 ข้อ อันได้แก่ ..
1.ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ
สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
2.ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
3.เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
4.ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
5.ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
6.เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า
ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
7.เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ
ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ
ความเป็นมาของอาเซียน
อาเซียน(ASEAN) ย่อมาจาก Association of SouthEast Asian Nations หรือ
สมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นองค์กรระดับภูมิภาค ก่อตั้งขึ้นโดย
5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย
โดยร่วมกันจัดทำปฏิญญาอาเซียน ชื่อว่า ปฏิญญากรุงเทพฯ ลงนามที่ประเทศไทย
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510
ปัจจุบันสมาชิกอาเซียนมี
10 ประเทศ มีเป้าหมายว่าจะเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน
8 สิงหาคม
พ.ศ. 2510 : ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ร่วมก่อตั้งอาเซียน
7 มกราคม พ.ศ
2527 : บรูไนเข้าร่วมเป็นสมาชิก
28 กรกฎาคม
พ.ศ 2538 : เวียดนามเข้าร่วมเป็นสมาชิก
23 กรกฎาคม
พ.ศ 2540 : ลาวและเมียนมาร์(พม่า) เข้าร่วมเป็นสมาชิก
9 เมษายน พ.ศ
2542 : กัมพูชา เข้าร่วมเป็นสมาชิก
ข้อมูลที่น่าสนใจของ ASEAN
วันก่อตั้ง :
8 สิงหาคม พ.ศ. 2510
วันอาเซียน :
8 สิงหาคม
ที่ตั้งสำนักงานเลขาธิการอาเซียน
: กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย
คำขวัญ : One Vision,
One Identity, One Community (หนึ่งวิสัยทัศน์, หนึ่งอัตลักษณ์, หนึ่งประชาคม)
ประธานอาเซียน
: เมียนมาร์ (2557)
เลขาธิการอาเซียน
: นายเล เลือง มิญ (Le
Luong Minh) จากเวียดนาม (2556 -2560)
พื้นที่ในอาเซียน
: 4,464,322 ตร.กม.
ประชากรอาเซียน
: 600.18 ล้านคน
เพลงประจำอาเซียน
: The
ASEAN Way
ภาษากลาง :
อังกฤษ
รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชาชนอาเซียน
: 3870 ดอลลาห์สหรัฐฯ ต่อคนต่อปี
ประเทศคู่เจรจา
: จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย
แคนาดา และ 1 กลุ่ม คือ สหภาพยุโรป
ทรัพยากรธรรมชาติ
: น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ป่าไม้
สินค้าส่งออกสำคัญ
: น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ อิเล็กทรอนิกส์
ตลาดส่งออกสำคัญ
: ญี่ปุ่น จีน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา
สินค้านำเข้าสำคัญ
: น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ อิเล็กทรอนิกส์
ตลาดนำเข้าสำคัญ
: สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น จีน
ตราสัญลักษณ์อาเซียน
"สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
หรือ "อาเซียน" ใช้สัญลักษณ์เป็นรูปมัดรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นวงกลมสีแดง
ล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน
ตราสัญลักษณ์อาเซียน
รวงข้าวสีเหลือง
10 ต้น หมายถึง ความใฝ่ฝันของบรรดาสมาชิกในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ ให้มีอาเซียนที่ผูกพันกันอย่างมีมิตรภาพและเป็นหนึ่งเดียว
วงกลม หมายถึง
เอกภาพของอาเซียน
ตัวอักษร
"asean"
สีน้ำเงินใต้ภาพรวงข้าว หมายถึง ความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง
สันติภาพ เอกภาพ และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน
สีที่ใช้ในตราสัญลักษณ์อาเซียน
ซึ่งนอกจากตราสัญลักษณ์ที่จะช่วยสร้างความเข้าใจในความเป็นอาเซียนแล้ว
สีที่ใช้ก็ยังมีส่วนที่ช่วยเสริมให้อาเซียนมีพลัง สามารถดำเนินไปได้ด้วยความอดทน
และมีความเชื่อมั่นซึ่งกันและกัน
สีที่ใช้ในตราสัญลักษณ์อาเซียน
สีเหลือง
หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
สีแดง หมายถึง
ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
สีขาว หมายถึง
ความบริสุทธิ์
สีน้ำเงิน
หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
คำขวัญอาเซียน
คำขวัญอาเซียน
คือ หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม หรือ One Vision,
One Identity, One Community
คำขวัญอาเซียน
ความหมายอันลึกซึ่งของคำขวัญอาเซียน
บ่งบอกไส้อย่างชัดเจนถึงการหล่อหลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียว
ทั้งวิสัยทัศน์ของกลุ่มอาเซียน เอกลักษณ์
รวมถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของมวลหมู่สมาชิกอาเซียนทั้งหลาย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)