ประเพณีของกัมพูชา
* ระบำอัปสรา (Apsara Dance) เป็นการแสดงนาฏศิลป์ที่โดดเด่นของกัมพูชา ซึ่งถอดแบบการ แต่งกายและท่าร่ายรำมาจากภาพจำหลักรูปนางอัปสรที่ปราสาทนครวัด นางอัปสราตัวเอกองค์แรก คือ เจ้าหญิงบุพผาเทวี พระราชธิดาในเจ้าสีหนุ เป็นระบำที่กำเนิดขึ้นเพื่อ เข้าฉากภาพยนตร์เกี่ยวกับนครวัดที่กำกับโดย Marchel Camus ชื่อเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า L”Oiseau du Paradis ก็คือ The Bird of Paradise หลังจากนั้น ระบำอัปสรา ก็เป็นระบำขวัญใจชาวกัมพูชา ใครได้ เป็นตัวเอกในระบำอัปสรานั้นเชื่อได้ว่า เป็นตัวนางชั้นยอดแห่งยุคสมัยนครวัด เป็นอุดมคติแห่งชาติกัมพูชา นางอัปสราในนครวัดก็เป็นอุดมคติแห่งสตรีเขมร ดังนั้นการชุบชีวิตนางอัปสราออกมาเป็น ระบำระดับชาตินั้นมีความหมายในเชิงชาติพันธุ์นิยม เพื่อให้เข้าถึงสัญลักษณ์สูงสุดแห่งสตรีแขมร์ ระบำอัปสรามีชื่อเสียง ขึ้นมาด้วยการอิงบนความยิ่งใหญ่ของนครวัด และระบำอัปสราก็จำลองภาพสลักที่แน่นิ่งไร้ความ เคลื่อนไหวในนครวัดให้หลุดออกมามีชีวิต ดอกไม้เหนือเศียรนางอัปสราส่วน ใหญ่ในปราสาทนครวัดคือ ดอกฉัตร พระอินทร์ เนื่องจากรูปทรงของดอกชนิดนี้พ้องกันกับภาพสลัก เขมรเรียกดอกไม้ชนิดนี้ ว่า “ดอกเสนียดสก” เสนียด คือสิ่งที่เอามาเสียด และสก คือผม ชื่อของดอกไม้บ่งบอกว่าเป็นดอกสำหรับเสียดผม เข้าใจว่าสมัยโบราณสตรีชั้นสูง ของเขมรคงประดับ ศีรษะด้วยดอกไม้หลายชนิด หนึ่งในนั้นคือดอกฉัตรพระอินทร์ ดังหลักฐานภาพสลักนางอัปสรา ที่พบ ในปราสาทหินขอม ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจของช่างสลักจากที่ได้เห็นของจริง
* เทศกาลน้ำ (Water festival) หรือ “บอน อม ตุก” (Bon Om Tuk) เทศกาลประจำปีที่ยิ่งใหญ่ของกัมพูชา จัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนเพื่อเป็นการแสดงความสำนึกในพระคุณของ แม่น้ำที่นำความอุดมสมบูรณ์ มาให้ โดยจะมีการแข่งเรือยาว แสดงพลุดอกไม้ไฟ การ แสดงขบวนเรือประดับไฟ เและขบวนพาเหรด บริเวณทะเลสาบ “โตนเลสาบ” ที่จัดขึ้น ทุกปีตั้งแต่ วันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ จนถึงแรม 1 ค่ำ เดือนพฤศจิกายน ซึ่งทางการกัมพูชา ประกาศให้เป็น วันหยุด 3 วัน เพราะน้ำในแม่น้ำโขงเมื่อขึ้นสูง จะไหลไปที่ทะเลสาบ เนื่องจากในช่วงปลาย ฤดูฝนในเดือนพฤศจิกายน น้ำในทะลสาบลดต่ำลง ทำให้น้ำไหลลง กลับสู่ลำน้ำโขงอีกครั้ง ชาวกัมพูชาจะร่วมกันลอยทุ่นที่ประดับด้วยดวงไฟ ไปตาม แม่น้ำโขง ขณะที่การแข่งเรือ เป็นการรำลึก ถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์สมัยพระเจ้า ชัยวรมันที่ 7 ช่วงศตวรรษที่ 12 ในยุคเมืองพระนคร อาณาจักรเขมรที่กำลังรุ่งเรืองมีชัย เหนืออาณาจักรจาม ในการสู้รบ ทางเรือ
*******************************************************************
ประเพณีของฟิลิปปินส์
– อาติหาน (Ati – Atihan)
* เทศกาลซินูล็อก (Sinulog)
* เทศกาลดินาญัง (Dinayang)
*******************************************************************
ประเพณีของบรูไน
สตรีชาวบรูไนจะแต่งกายมิดชิด นุ่งกระโปรงยาว เสื้อแขนยาว และมีผ้าโพกศีรษะ คนต่างชาติ จึงไม่ควรนุ่ง กระโปรงสั้น และใส่เสื้อไม่มีแขน ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเหลือง เพราะถือเป็นสีของพระมหากษัตริย์ การทักทาย จะจับมือกันเบาๆ และสตรีจะไม่ ยื่นมือให้บุรุษจับ การชี้นิ้วไปที่คนหรือสิ่งของถือว่าไม่สุภาพ แต่ จะใช้หัวแม่มือชี้แทน และจะไม่ใช้มือซ้ายในการส่งของให้ผู้อื่น สตรีเวลานั่งจะไม่ให้เท้าชี้ไปทางผู้ชาย และไม่ ส่งเสียงหรือหัวเราะดัง
การรับประทานอาหารร่วมกับชาวบรูไน โดยเฉพาะคู่เจรจาที่เป็นชาวมุสลิมควรระมัดระวังการสั่งอาหาร ที่เป็นเนื้อหมูและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เนื่องจากผิดหลักปฏิบัติของศาสนาอิสลาม ไม่รับประทานเนื้อหมู และถือเป็นกฏที่ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดในการห้ามดื่มสุรา อาจขอให้ คู่เจรจาชาวบรูไนช่วยเลือกร้านอาหาร ทั้งนี้บรูไนไม่มีวัฒนธรรมการให้ทิปในร้านอาหาร ในกรณีที่เป็น ร้านอาหารขนาดใหญ่จะมีการเก็บค่าบริการ เพิ่มร้อยละ 10 อยู่แล้ว
ประเพณีของพม่า
เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากจีน อินเดีย และไทยมานาน จึงมีการผสานวัฒนธรรมเหล่านี้เข้ากับวัฒนธรรมของ ตนจนเป็นเอกลักษณ์ นอกจากนี้ยังได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา จึงเกิดประเพณีสำคัญ เช่น
* ประเพณีปอยส่างลอง (Poy Sang Long) หรืองานบวชลูกแก้ว เป็นงานบวชเณรที่สืบทอดกันมานาน และ ชาวเมียนมาร์ให้ความสำคัญมาก เพราะถือเป็นบุญอันยิ่งใหญ่ของครอบครัว
* งานไหว้พุทธเจดีย์ประจำปี ซึ่งแต่ละที่มักนิยมจัดในเดือนหลังออกพรรษาถือเป็นงานเฉลิมฉลองที่สนุกสนาน และได้ทำบุญสร้างกุศลด้วย
*******************************************************************
ประเพณีของเวียดนาม
* เทศกาลเต็ด (Tet) หรือ “เต็ดเหวียนดาน (Tet Nguyen Dan)” หมายถึง เทศกาลแห่งรุ่งอรุณแรกของปี ถือเป็น เทศกาลทางศาสนาที่สำคัญที่สุดดขึ้นในช่วงปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์เป็นการเฉลิมฉลองความเชื่อ ในเทพเจ้า ลัทธิเต๋า ขงจื๊อ และศาสนาพุทธ รวมทั้งเป็นการแสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษด้วย
* เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ชาวบ้านจะประกวดทำขนมเปี๊ยะโก๋ญวนหรือบันตรังทู ทีมีรูปร่างกลม มีไส้ถั่วและไส้ผลไม้ และมีการจัดขบวนเชิดมังกร เพื่อแสดงความเคารพต่อพระจันทร์ จะมีการเฉลิมฉลองกับขนมเค้กสำหรับเด็กและครอบครัวของพวกเขาที่ดูดวงจันทร์ ขบวนของโคมไฟและโคมไฟ ดวงจันทร์จะถูกใช้เป็นสัญลักษณ์สำหรับความเจริญรุ่งเรือง; ในช่วงเทศกาลจะมีกล่องเค้กในรูปร่างของดวงจันทร์
(Banh Trung พฤ.) เพื่อเพื่อนและครอบครัว ในเวลากลางคืนเด็กจะเดินขบวนในถนนร้องเพลงในขณะที่ส่งมอบโคมไฟจีนสีในมือ โคมไฟ เหล่านี้จีนมีเทียนที่ส่องสว่างสวยงามตามท้องถนน
*******************************************************************
ประเพณีของสิงคโปร์
* เทศกาลตรุษจีน เทศกาลปีใหม่ของชาวจีนที่จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์
* เทศกาล Good Friday จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการสละชีวิตของพระเยซูบนไม้กางเขนของชาวคริตส์ใน เดือนเมษายน
* เทศกาลวิสาขบูชา จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้าของชาวพุทธ ในเดือนพฤษภาคม
* เทศกาล Hari Raya Puasa เทศกาลการเฉลิมฉลองของชาวมุสลิมที่จัดขึ้นเมื่อสิ้นสุดพิธีถือศิลอดหรือ รอมฏอนในเดือนตุลาคม
* เทศกาล Deepavali เทศกาลแห่งแสงสว่างและเป็นงานขึ้นปีใหม่ของชาวฮินดู ที่จัดขึ้นเดือน พฤศจิกายน
*******************************************************************
ประเพณีของมาเลเซีย
* การรำซาบิน (Zabin) เป็นการแสดงการฟ้อนรำหมู่ ซึ่งเป็นศิลปะพื้นเมืองของชาวมาเลเซีย โดยเป็นการ ฟ้อนรำที่ได้รับอิทธิพลมาจากดินแดนอาระเบีย โดยมีผู้แสดงเป็นหญิงชายจำนวน 6 คู่ เต้นตามจังหวะของกีตาร์ แบบอาระเบียน และกลองเล็กสองหน้าที่บรรเลงจากช้าไปเร็ว
* เทศกาลทาเดา คาอามาตัน (Tadau Kaamatan) เป็นเทศกาลประจำปีในรัฐซาบาห์ จัดในช่วงสิ้นเดือน พฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดของฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวและเริ่มต้นฤดูกาลใหม่ โดยจะมีพิธีกรรมตามความเชื่อในการ ทำเกษตร และมีการแสดงระบำพื้นเมือง และขับร้องบทเพลงท้องถิ่นเพื่อเฉลิมฉลองด้วย
*******************************************************************
ประเพณีของลาว
* ด้านดนตรีแคน ถือเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ โดยมี วงดนตรีคือ วงหมอลำ และมีรำวงบัดสลบ (Budsiob) ซึ่งเป็นการเต้นที่มีท่าตามจังหวะเพลง โดยจะเต้นพร้อมกันไปอย่างเป็นระเบียบถือเป็นการร่วมสนุกกันของชาวลาวใน งานมงคลต่างๆ
* การตักบาตรข้าวเหนียว
ถือเป็นจุดเด่นของเมืองหลวงพระบาง ซึ่งโดยปกติแล้วนิยมใส่บาตรด้วยข้าวเหนียวเพียงอย่างเดียว เพราะเมื่อ ถึงเวลาฉัน ชาวบ้านจะยกสำรับกับข้าวไปถวายที่วัด เรียกว่า “ถวายจังหัน” โดยเวลาใส่บาตรจะนั่งคุกเข่าและผู้หญิง ต้องนุ่งซิ่น ส่วนผู้ชายนุ่งกางเกงขายาว และมีผ้าพาดไหล่ไว้สำหรับเป็นผ้ากราบพระเหมือนกัน
*******************************************************************
ประเพณีของไทย
* การไหว้ เป็นประเพณีการทักทายที่ถือเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของไทย โดยเป็นการแสดงถึงความมี สัมมาคารวะและให้เกียรติกันและกัน นอกจากการทักทาย การไหว้ยังมีความหมายเพื่อการขอบคุณ ขอโทษ หรือ กล่าวลาด้วย
* โขน เป็นนาฏศิลป์เก่าแก่ของไทย มีลักษณะสำคัญที่ผู้แสดงต้องสวมหัวโขนทั้งหมด ยกเว้นตัวนาง พระ และเทวดา ซึ่งแสดงโดยใช้ท่ารำและท่าทางประกอบทำนองเพลง ดำเนินเรื่องด้วยบทพากย์และบทเจรจาส่วนเรื่อง ที่นิยมแสดงคือ รามเกียรติ์
* สงกรานต์ ประเพณีเก่าแก่ ซึ่งถือเป็นการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทยที่ยึดถือปฏิบัติกัน โดยจะมีการ รดน้ำ ขอพรผู้ใหญ่ สรงน้ำพระ ทำบุญตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา ขนทรายเข้าวัดและก่อเจดีย์ทราย รวมทั้งมีการเล่น สาดน้ำเพื่อความสนุกสนานด้วย
*******************************************************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น